messager
check_circle ข้อมูลหน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลชำราก จังหวัดตราด จากหลักฐานการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งยังคงมีชีวิตอยู่ และจากหลักฐานการบันทึกของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ว่าในสมัยอดีตตำบลชำรากของเรานี้มีคนอาศัยอยู่กันไม่มากนักจำนวนไม่กี่หลังคาเรือน เนื่องจากเป็นตำบลที่มีโรคภัยไข้เจ็บชุกชุมโดยเฉพาะไข้มาลาเรียหรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่าไข้ป่า การเดินทางไปมาไม่สะดวก เนื่องจากต้องเดินทางด้วยเท้าเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนในสมัยก่อนที่พอมีภูมิปัญญาอยู่บ้างก็จะสร้างพาหนะล้อเลื่อนขึ้นมาเป็นเครื่องช่วยให้การสัญจรเดินทาง โดยอาศัยสัตว์เลี้ยงช่วยทุ่นแรง ทำให้เดินทางได้สะดวกขึ้น เส้นทางที่จะเดินทางไปมาหาสู่กันก็มักจะเดินไปตามคันนา หรือทางเลื่อนทางเกวียน ในฤดูฝนยิ่งมีความยากลำบากที่จะไปมาหาสู่กัน แต่ยังโชคดีที่บริเวณนี้เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารการกิน ส่วนใหญ่แล้วจะหาไม่ยากนัก ปกติก็จะเป็นพืชพันธุ์ไม้ที่ปลูกไว้กินเองในบริเวณบ้าน หรือริมรั้วบ้าน อาหารเนื้อสัตว์ก็มักจะเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ หรือหาสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่เขาบรรทัด ที่มีจำนวนมาก หรือหาปลาตามห้วย หนอง คลองบึงต่างๆ ซึ่งก็หาได้ไม่ยากนักเหลือจากกินแล้วก็จะทำเค็มตากแห้ง นำไปขายในเมืองเป็นครั้งคราวไม่เหมือนกับในปัจจุบันนี้ พื้นที่ของตำบลชำรากในอดีต ตรงบริเวณริมคลองชำรากจะเป็นที่ราบลุ่ม แม้ในฤดูแล้ง ก็จะยังคงความชุ่มชื้นอยู่ ซึ่งบริเวณนี้จะมีต้นไทรใหญ่ขึ้นเรียงรายอยู่ประมาณ 2-3ต้น คนที่สัญจรไป-มา เมื่อผ่านบริเวณนี้ก็มักจะหยุดพักใช้เป็นที่พักพิง เพื่อคลายความเมื่อยล้าจากการเดินทางมา พอหายเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วก็จะเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ประสงค์ และพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นพื้นที่ ที่อำนวยประโยชน์ให้กับชาวบ้านในละแวกนี้ที่จะต้องการเพราะพันธุ์กล้าไม้แล้วนำไปปลูกยังบริเวณบ้าน ก็มักจะหาพันธุ์ไม้ต่างๆ เช่น กิ่งส้มตอน มะพร้าว หมาก และอื่นๆ นำมาฝังกลบเพื่อให้พันธุ์ไม้นั้นเจริญงอกงาม จนกระทั่งสามารถจะนำไปปลูกได้ จากการที่พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ลุ่มชุ่มชื้น สามารถนำพันธุ์ไม้มาปักชำ แล้วทำให้รากพืชพันธุ์งอกเจริญเติมโตได้เร็ว จึงมีคนตั้งชื่อพื้นที่บริเวณนี้ว่า “บ้านชำราก”
สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไป 1.1 ที่ตั้ง ตำบลชำรากตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองตราดไปตามถนนสายตราด–คลองใหญ่เป็นระยะทาง 23 กิโลเมตร 1.2 อาณาเขต เทศบาลตำบลชำรากมีเนื้อที่ 75.01 ตารางกิโลเมตรหรือ 46,882.52 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลตะกาง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ทิศตะวันออก ติดต่อกับสันเขาบรรทัด แบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทย - กัมพูชา ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลในอ่าวไทย 1.3 สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบชายเขาเลียบฝั่งทะเล แบ่งออกเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 16,250 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ (ป่าสงวน) 24,375 ไร่ ตำบลชำรากมีพื้นที่ป่าไม้ที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยป่าบกคือป่าในพื้นที่ชายเขาบรรทัดที่ยังมีความสมบูรณ์อยู่มากเนื่องจากไม่มีการบุกรุกมากนัก ส่วนป่าชายเลนมีความสมบูรณ์น้อยกว่า เนื่องจากถูกบุกรุกทำลายเป็นบางส่วน สภาพดินมีปัญหา คือ พื้นดินเค็ม คุณภาพดินเสื่อมโทรม หน้าดินถูกชะล้าง 1.4 เขตการปกครอง เทศบาลตำบลชำราก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 เขต ประกอบด้วย เขตที่ 1 ประกอบด้วยหมู่ที่ 4, 5 และหมู่ที่ 1 บางส่วน นายกฤษณะ ไชยเพชร เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 เบอร์โทรศัพท์ 086-8375853 นายภิญโญ ดีหลาย เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 เบอร์โทรศัพท์ 086-1486972 นายนิวัฒน์ หนูจักร เป็นกำนันตำบลชำราก เบอร์โทรศัพท์ 084-7077491 นายนุชล ติ่งเกษม เป็นประธานสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 089-5452665 นายดิเรก บุญชู เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 086-8351599 นายบรรเทิง มุสิกรัตน์ เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 081-9280542 นายอโนชา ติ่งเกษม เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 081-0003126 นายนุชล ติ่งเกษม เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 089-5452665 นายประยุทธ ติ่งเกษม เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 089-0916542 เขตที่ 2 ประกอบด้วย หมู่ที่ 2, 3 และหมู่ที่ 1 บางส่วน นายกฤษณะ ไชยเพชร เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 เบอร์โทรศัพท์ 086-8375853 นายนิวัฒน์ หนูจักร เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 เบอร์โทรศัพท์ 084-7077491 นางณพัชรา รัตนวาร เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 เบอร์โทรศัพท์ 080-0925899 นายอนนต์ ไวยกูล เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 081-0003601 นาวาโทประทาน สำราญกิจ เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 081-5136273 นายเกรียงศักดิ์ เรืองขณะ เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 089-0943210 นางวดีภัทร ศรีปราชญ์ เป็นรองประธานสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 081-2562559 นายสกนธ์ รัตนเศียร เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 081-8614940 นายสมศักดิ์ อนันต์ เป็นสมาชิกสภาเทศบาล เบอร์โทรศัพท์ 089-5450807
ข้อมูลประชากร
ข้อมูลประชากร มีประชำกรทั้งสิ้น 2,575 คน แยกเป็นชาย 1,265 คน หญิง 1,310 คน แยกตำมหมู่บ้ำนได้ดังนี้ (ข้อมูล ณ กุมภำพันธ์ พ.ศ. 2556)
ประชากร



ความหมายของตราประจำเทศบาล

ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลชำราก
ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลชำราก ตำบลชำราก จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 65.00 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน ได้รับจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชำราก เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 และได้รับการจัดตั้งจากองค์การบริหารส่วนตำบลชำราก เป็นเทศบาลตำบลชำราก พ.ศ. 2551 ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 10 มีนาคม 2551 และมีผลบังคับ วันที่ 1 สิงหาคม 2551 ตราสัญลักษณ์และความหมาย เป็นรูปวงกลมสองวงซ้อนกันขนาดตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายในวงกลม เป็นรูปเจดีย์ หมายถึง เจดีย์วัดคีรีวิหารภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวตำบลชำราก และประชาชนทั่วไป สภากาชาดไทยได้ทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมา คุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสพระชนมายุครบ 44 พรรษา เป็นองค์ประธานในการบรรจุ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2539 จึงได้กำหนดดวงตราไว้เป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังสืบไป